แนวคิด ทฤษฎีและปรัชญา



แนวความคิดทางปรัชญาที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร 1. กลุ่มmetaphysicsชื่อกลุ่มนี้มีความหมายว่าอยู่นอกเหนือธรรมชาตินักปรัชญาคิดปรัชญากลุ่มนี้จึงนี้ศึกษาสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ ในการนำแนวคิดนี้มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรเป็นการกำหนดผลการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนให้มากที่สุด วิธีดำเนินการคือ การให้เสรีภาพกับนักเรียนในการบรรลุความเป็นผู้มีปัญญา ดั้งนั้นเนื้อหาในหลักสูตรจึงมีมากกว่าวิทยาศาสตร์ หรือศึกษาสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติด้วย 2. กลุ่มญานวิทยา(epistemology)เป็นปรัชญาสาขานึ่งที่ต้องการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและความรู้ มักจะตั้งคำถามว่า วิธีการเรียนแบบนี้ดีกว่าอีกแบบหนึ่งหรือไม่ ในการเรียนการสอนควรกำหนดให้มีวิธีการจำเพาะเจาะจงหรือไม่ การเรียนรู้แบบรอบรู้ดีกว่าการสอนแบบสืบสวนหรือไม่ 3. กลุ่มคุณวิทยา(Axiology)เป็นกลุ่มปรัชญาที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับค่านิยมและจริยธรรม มักตั้งคำถามว่าความดีคืออะไร อะไรเป็นสิ่งที่มีคุณค่า อะไรถูกอะไรผิด 4. กลุ่มตรรกนิยม(Logic)กลุ่มปรัชญานี้เป็นแนวคิดสำคัญสำหรับครู ช่วยให้ครูสรุปได้ถูกต้อง ทำให้ครูเข้าใจแบบแผนการเรียนของนักเรียนได้ชัดเจนขึ้น และสามารถทดสอบความแม่นยำของนักเรียนได้มี 3แบบคือ แบบ Inductive,DeductiveและDialective 5. กลุ่มจิตนิยม(Idealism)เป็นกลุ่มปรัชญาที่เก่าแก่ที่สุด แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้คือ”ความจริง” วิชานี้คือ พลาโต ซึ่งเชื่อว่า ความจริงและคุณภาพเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในตัวมนุษย์เรียกว่า จิตวิญญาณ โดยมีพระเจ้าเป็นเหล่งของความจริงและเป็นอมตะนักศึกษาที่ยึดแนวปรัชญานี้ จะกำหนดให้นักเรียนใส่ใจในอุดมการณ์ที่สมบูรณ์แบบเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องและคุณธรรม หลักสูตรนี้เต็มไปด้วยเนื้อหาด้านศิลปะศาสตร์ ปรัชญา เทววิทยา วรรณคดี แนวคิดนี้ได้รับการต่อต้านไม่ว่าผู้เรียนจะอยู่ภายในหรือภายนอกสถานศึกษาก็ตาม ผู้เรียนไม่มีเวลาพอที่จะคิดถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เผชิญอยู่ได้อย่างครบถ้วน สังคมไม่อาจก้าวหน้าไปได้เลยถ้าทุกคนนั่งลงและคิดอย่างเดียว 6. กลุ่มวัตถุนิยม(Realism)กลุ่มนี้มีแนวคิดว่า ความจริงคือสิ่งที่สัมผัสได้ เป็นวัตถุหรือสสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ความรู้ที่ถูกต้องจึงเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่ตามสภาพธรรมชาติที่สังเกตได้ ดั้งนั้นการจะได้ความรู้มาจึงต้องใช้เหตุผล โดยเฉพาะเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นเหตุผลที่อธิบายสภาพการต่างๆในโลกได้ครบหมดผู้นำแนวคิดนี้คือ นักปรัชญาชาวอังกฤษFrancis Bacon 7. กลุ่มปฎิบัตินิยม(Pragcmatism)แนวคิดนี้เริ่มในศตวรรษที่16-17ผู้นำแนวคิดนี้คือ นักปรัชญาชาวอังกฤษFrancis BaconและImmanuel kantผู้ที่มีความเชื่อตามแนวคิดนี้ มักตั้งคำถามว่า สิ่งดีสำหรับอะไร จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ปรัชญานี้มาเจริญที่อเมริกาโดยนักปรัชญาชาวเยอรมันชื่อcharles Pierce สิ่งที่เป็นความเชื่อของคนกลุ่มนี้แตกต่างจากกลุ่มอื่นคือเชื่อว่าโลกบทบาทนี้มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีความจริงที่เป็นสากล มนุษย์จึงควรตรวจสอบความต้องการของตนเองข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ความต้องการของคนเป็นสิ่งที่มีคุณค่า การศึกษาจึงมีบทบาทที่ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง วิธีที่ดีที่สุดคือ การผ่านประสบการณ์ตรง หลักสูตรจึงยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางกิจกรรมในการแก้ปัญหาที่สำคัญที่สุด 8. กลุ่มอัตนิยม(Existenialism)เป็นโครงสร้างปรัชญาแนวใหม่ที่เชื่อว่าความหมายของชีวิตคือสิ่งที่แต่ละคนสร้างขึ้นมาเอง ข้อสำคัญคือ ปัจจุบันแต่ละคนควรมีเสรีภาพที่จะทำในสิ่งที่ตนเองมีความสุข ซึ่งยึดหลักการให้เสรีภาพแก่นักเรียนมกที่สุด โดยมีกฎเกณฑ์เดียวเท่านั้นที่จะยึดถือ คือจะทำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นการทำร้ายหรือส่งผลกระทบต่อบุคคลหรือสมบัติของบุคคลอื่น 9. กลุ่มสารัตถนิยม(Essentialism)ผู้นำความคิดนี้คือwilliam Bagleyซึ่งมีความเชื่อว่า จุดมุ่งหมายของโรงเรียนคือ ให้สังคมสงบได้ด้วยการสอนความรู้ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ดังนั้นผู้เรียนจึงควรรอบรู้วิชาต่างๆ เช่น การอ่าน การเขียน เลขคณิตประวัติศาสตร์ และภาษาอังกฤษวิชาเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในการเตรียมนักเรียนให้มีชีวิตที่ดี การสอนควรเริ่มเรียงลำดับจากง่ายไปหาสิ่งที่ซับซ้อน และจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม 10. กลุ่มนิรันตรนิยม(Perennialism)กลุ่มนี้มีความเชื่อว่าสิ่งที่มีความคงทนถาวร ย่อมเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นจริงมากกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ การจัดการศึกษาจึงควรให้เรียนในสิ่งที่ดีงาม มั่นคง มีเสถียรภาพ ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาและกระตุ้นสติปัญญา เพื่อเตรียมนักเรียนต่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้ยังมีผู้แย้งว่านักเรียนไม่อาจเตรียมตนเองให้ทันกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปจากวิชาเก่าๆถึงแม้ว่าการให้ความรู้พื้นฐานอาจจะดูดีแต่ก็ยังไม่สำคัญเท่ากับการเรียนรู้ในการดำรงชีพ 11. กลุ่มปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)แนวคิดนี้อยู่ในโครงสร้างแบบอเมริกัน โดยเชื่อว่าโรงเรียนควรปฏิรูปตนเองออกจากสังคมที่กำลังวิกฤติในด้านความยากจน ครูส่วนใหญ่ในแนวคิดนี้มาจากชนชั้นกลางและต้องการปกป้องสังคม หลักสูตรตามแนวปรัชญานี้จึงมุ่งไปที่ปัญหาใหญ่ของสังคม เนื้อหาจึงเน้นหนักด้านวิชาพฤติกรรมศาสตร์และอิทธิพลของชุมชน กลุ่มปฏิรูปนิยมนี้เชื่อว่า ความรับผิดชอบที่สำคัญของโรงเรียน คือการสอนให้นักเรียนรู้จักวิเคราะห์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493. พิมพ์ครั้งที่ 13. (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, 2516),หน้า951